วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

ให้นักศึกษา ไปค้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรม ต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างที่เกิดจากงานโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

ตอบ ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไปซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งานคือ

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
      อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ  คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ

1.  ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง
        เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป
        โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้าและระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียวหรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
        ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้

1)  ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน

2)  ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย

3)  ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต

4)  ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์


2.  ซอฟต์แวร์สำเร็จ
  
    ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software)
            เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
            เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)
             การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)
               เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

ระบบการสอนรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่  4


 สาระสำคัญ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้นในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
  • Input
1.แผนการสอน เช่น มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาเนื้อหา
อย่างละเอียดและเข้าใจอย่างถูกต้อง
2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจอย่างถูกต้อง รู้ถึงความเป็นมา
3.เนื้อหา เช่น เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูณ์ สอนตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง
4.สื่อการสอนเช่น  น่าสนใจ เหมาะกับวัยของนักศึกษา หรือ นักเรียน

  • Process
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2.2 ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา
3. สาระการเรียนรู้
วันสำคัญทางศาสนา
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
  • Output
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1คน ปานกลาง 2 -3 คน และอ่อน 1 คน ครูแนะนำการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power pointโดยนักเรียนต้องร่วมมือกัน และต้องดูแลช่วยเหลือกันในการเปิดบทเรียน อ่านและเรียนรู้ร่วมกัน ใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 เครื่อง คนที่เก่งจะเปิดบทเรียนอิเรคทรอนิค นักเรียนในกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันโดยอ่านเนื้อหาและฟังบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับวันแต่ละวัน จบตอนแต่ละช่วงวันสำคัญ แต่ละวันหยุดอภิปรายแสดงความคิดเห็น ครูคอยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนรายบุคคล และพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
6. ครูชี้แนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวันมีความสำคัญอย่างไร วันสำคัญมีอะไรที่เป็นปรากฏการณ์ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้
7. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power point โดยครูเสริมข้อคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจทั้งในครอบครัว และสังคม
8.นักเรียนดูภาพประกอบ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา แล้วร่วมสนทนาซักถามอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติมภาพที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา
9. แจกใบงานที่ 1 เรื่องวันสำคัญทางศาสนา นักเรียนทำใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานแต่ละคนแต่ละกลุ่มและคอยให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถามของนักเรียน
10. ครูแจกใบงานที่ 2 พร้อมกับให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับภาพว่านักเรียนคนใดเคยได้ปฏิบัติตามภาพ ที่นักเรียนได้เห็นบ้าง
11. ตรวจผลงานร่วมกัน ครูชี้แนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีกรรมในแต่ละวัน ของวันสำคัญทางศาสนาพร้อมสรุปข้อที่ควรปฏิบัติกับวันสำคัญ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และแนะนำการเรียนในครั้งต่อไป
ชั่วโมงที่ 2 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2 ทบทวนความรู้เดิมจากการเรียนบทเรียนอิเรคโทนิค โดยใช้โปรแกรม
power point ในชั่วโมงที่ผ่านมา
3. ดูภาพและสนทนากับนักเรียน ในเรื่องเกี่ยวกับการไปร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาที่วัดในชุมชน เมื่อครั้งที่ผ่านมาว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนั้นอย่างไร และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะมีขึ้นต่อจากนี้คือวันใด
4. แบ่งนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม คละความสามารถ ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกผู้ทำหน้าที่ประธาน รองประธานและเลขานุการ ศึกษาจากใบความรู้ ตั้งชื่อกลุ่มในแต่ละกลุ่มและทำกิจกรรมตามใบงานกำหนด โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวันสำคัญดังนี้
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
5.สมาชิกในกลุ่มได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน(เปรียบเสมือนได้ ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาสมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
5.1 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ใบงานกำหนด
5.2 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจเนื้อหาที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของวันสำคัญทั้งหมด
5.3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของ ทุกคนในกลุ่ม บ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวปฏิบัติตน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเน้นการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ โดยนำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวปฏิบัติ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ให้ ตระหนักถึงคุณค่าของความสำคัญกับการรักษาศีล และปลูกฝังความสามัคคี เสียสละ สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ชุมชนวัด และปฏิบัติตน ในแนวทางที่ดี และในวันสำคัญต่างๆ ครูนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมที่วัดเพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้เกิดขึ้นและนักเรียนทำแบบฝึกหัดจากใบงานและเขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควร ปฏิบัติในวันสำคัญ
7. ทำข้อทดสอบหลังเรียน
8. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
6. ห้องสมุดโรงเรียนวัดต้นชุมแสง
7. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
9. การวัดผลและประเมินผล
9.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
1. การตรวจใบงาน
2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
9.2 เครื่องมือวัด
1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
9.3 การประเมินผล
1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
ผ่านเกณฑ์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ไม่ผ่านเกณฑ์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50